linkedin facebook
thai flag

แคลดดิ้งโลหะแบบใดที่เหมาะกับโปรคเจคงานของคุณ?

Why is Metal Cladding Attractive in Architecture?ทำไมแคลดดิ้งโลหะจึงดูน่าดึงดูดในสถาปัตยกรรม
โลหะเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสำหรับการทำแคลดดิ้งมากที่สุดในงานสถาปัตยกรรม เนื่องจากภาพลักษณ์ที่น่าดูดึงดูดสายตาและคุณสมบัติในการหล่อให้เข้ากับการออกแบบและรูปร่างที่ต้องการได้  สำหรับสถาปัตยกรรมที่อยู่ในสภาพอาการรุนแรง โลหะก็สามารถทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันได้ดี  การใช้เทคนิคการเคลือบต่าง ๆ เช่น การเคลือบ PVD (PVD Coated) และการเคลือบ PVDF (PVDF Coated) จะช่วยเสริมภาพลักษณ์งานให้ออกมาดูดียิ่งขึ้นได้ด้วยในปัจจุบันนิยมใช้วิธีติดตั้งโลหะสามวิธีด้วยกัน คือ การวางทางและใช้ซีลแบบเปียกทับ (Route and Return Wet Seal) การวางทางและใช้ซีลแบบแห้งทับ (Route and Return Dry Seal) และการใช้ระบบเรนสกรีน (Rain Screen) เพื่อจัดการกับความชื้นที่ซึมเข้ามาทางช่องกำแพงของอาคาร  แคลดดิ้งโลหะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บความร้อนภายในอาคารและทำหน้าที่เป็นโครงสร้างกันน้ำ แถมยังเป็นตัวนำความร้อนที่ดีมากอีกด้วย

วัสดุต่าง ๆ ของแคลดดิ้งโลหะ
คุณสามารถทำแคลดดิ้งโลหะได้จากวัสดุต่าง ๆ ซึ่งจะให้ข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป  ในการเลือกวัสดุที่เหมาะสม คุณควรพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัจจัยเฉพาะของโปรเจคงานนั้น ภาพลักษณ์ที่ต้องการ สภาพอากาศ คุณสมบัติทางธรรมชาติของวัสดุใกล้เคียง ระบบโครงสร้างที่เลือก และงบประมาณการก่อสร้างวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการทำแคลดดิ้งโลหะ ได้แก่
เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel): เหล็กกล้าไร้สนิม หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Stainless Steel คือเหล็กที่เคลือบบาง ๆ ด้วยชั้นโครเมี่ยมออกไซด์  โครเมี่ยมออกไซด์เป็นตัวช่วยป้องกันกระบวนการออกซิเดชัน ซึ่งทำให้เกิดการกัดกร่อน  นอกจากนี้โครเมี่ยมออกไซด์ยังทำหน้าที่ต่อต้านการขึ้นสนิมด้วย  Stainless Steel ได้รับความนิยมเนื่องจากภาพลักษณ์ที่ดูสะอาดและมันวาว  มักใช้ในรูปแบบแผง (Stainless Steel Panels) และแบบแผ่น (Stainless Sheet) ในงานแคลดดิ้งแบบ SS (SS Cladding)
เหล็กสังกะสี (Galvanized steel): เหล็กชุบสังกะสีช่วยป้องกันการขึ้นสนิมเหมือนกับชั้นโครเมี่ยมของเหล็กกล้าไร้สนิมเหล็กที่ทนต่อดินฟ้าอากาศ: เหล็กชนิดนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างชั้นป้องกัน เมื่อใช้ไปเรื่อย ๆ จะดูคล้ายกับมีสนิมขึ้นทั่วบริเวณเหล็ก
อลูมิเนียม: อลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางธรรมชาติในการต้านสนิมและสภาพอาการรุนแรง จึงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมในการทำแคลดดิ้งสำหรับโปรดเจคร่วมสมัยไททาเนียม: สถาปนิกส่วนใหญ่ชอบใช้ไททาเนียมเนื่องจากมีน้ำหนักเบา แข็งแรง และให้ภาพลักษณ์ที่มันวาว สะท้อนเงา
สังกะสี: สังกะสีมีคุณสมบัติทนทานต่ออากาศ การกัดกร่อน แถมยังสามารถป้องกันอันตรายจากรังสียูวีได้ด้วย
ทองแดง: ทองแดงเป็นตัวเลือกที่มีน้ำหนักเบาและมีความทนทาน
ทองเหลือง: ทองเหลืองเป็นวัสดุทำแคลดดิ้งที่สามารถตีเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ง่ายมาก จึงเหมาะกับการทำงานโลหะตกแต่ง และ Decorative Trim
‍ทำไมถึงใช้แคลดดิ้งที่ทำจาก Stainless Steel?
เนื่องจากเหล็กกล้าไร้สนิมมีคุณสมบัติที่มีประโยชน์และให้ภาพลักษณ์ที่ดูดีแบบ Stainless Steel Finish จึงเป็นวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำแคลดดิ้งกำแพงเพื่อการตกแต่ง  นอกจากคุณสมบัติที่ดีแล้ว เหล็กกล้าไร้สนิมยังสามารถติดตั้งบริเวณเปลือกอาคารของงานสถาปัตยกรรมทุกรูปแบบได้ง่ายดาย  Stainless Panel มีความทนทานสูงและจะคงภาพลักษณ์ภายนอกอยู่ได้เป็นเวลาหลายสิบปี คุณสมบัติในการบำรุงรักษาตัวเองทำให้เหล็กกล้าไร้สนิมมีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูงมาก ด้วยเหตุนี้เหล็กกล้าไร้สนิมจึงเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมในการทำแคลดดิ้งมากกว่าโลหะประเภทอื่น เช่น ทองแดงบางครั้งพื้นผิวของแผงเหล็กกล้าไร้สนิมสำหรับการตกแต่งอาจเกิดรอยขีดข่วน ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอันเกิดจากรอยถลอก  แต่เหล็กกล้าไร้สนิมมีกระบวนการซ่อมแซมตัวเอง เพราะจะเกิดชั้นของโครโม (III) ออกไซด์ (Cr2O3) ขึ้นเมื่อได้รับออกซิเจน ซึ่งชั้นนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ชั้นบาง ๆ ดังกล่าวสามารถป้องกันโลหะภายในและยังช่วยซ่อมแซมให้วัสดุดูมัน เรียบลื่น และแวววาวอีกครั้ง  นอกจากคุณสมบัติทางธรรมชาติเหล่านี้แล้ว จุดขายที่โดดเด่นอีกอย่างของเหล็กกล้าไร้สนิมคือ การผลิตเหล็กชนิดนี้ในปัจจุบันทำจากวัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

แหล่งที่มา
‍https://architizer.com/blog/practice/details/behind-the-design-metal-cladding
‍https://architectural-facade-solutions.com/landingpage/stainless-steel-cladding
‍https://architizer.com/blog/product-guides/product-guide/eantka-metal-cladding

07-inoxmetalart_com-nunt

HWA LIN STAINLESS STEEL

Est. in 1991 in Thailand, to produce sustainable Art finishes on stainless steel sheets. We combined Japanese know-how, raw material from Nisshin and low production costs in Thailand.

During these 30 years we gained experience producing for mega projects with toughest requirements. Also, we organized logistics to support quick shipments of small orders from our prime stock. We helped Designers by suggesting the best suitable, affordable finishes for particular application.

Rate the author
( 2 reviews,
average 5 of 5 )
lightbox